หัวข้อสำคัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรีฑา วิ่งผลัด 4×400 เมตร

กรีฑา วิ่งผลัด 4×400 เมตร หลังจากที่เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วในปี 1964 ญี่ปุ่น กำลังจะเป็นเจ้าภาพหนที่ 2 ใน โอลิมปิค เกมส์ ครั้งที่ 32 (Tokyo 2020) ณ กรุงโตเกียว ในระหว่างวันที่ 24 กรกฏาคม ถึง 9 สิงหาคม 2020 โดยมีการแข่งขัน 339 รายการจาก 33 ชนิดกีฬา ซึ่งหัวใจสำคัญของมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาตินี้ย่อมอยู่ที่กรีฑาทั้งประเภทลู่และลานที่จะมีการชิงชัยกันทั้งสิ้น 48 เหรียญทอง และรายการที่ผมแนะนำให้จับตาเป็นพิเศษคือ วิ่งผลัดผสม 4X400 เมตร

ในเรื่องของกรีฑา สหรัฐ อเมริกา เป็นผู้นำโลก ตามด้วยชาติในทวีปอัฟริกา ส่วนในทวีปเอเชียก็เห็นจะมี จีน กับ ญี่ปุ่น อันนี้ดูจากผลการแข่งขันที่ผ่านๆมา โดยเฉพาะเร็วๆนี้ก็ รายการกรีฑาชิงแช้มพ์โลก (2019 World Athletics Championships) ที่ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร ที่เพิ่งจบลงไปเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

รายการดังกล่าว ทีมกรีฑาของ สหรัฐฯ คว้าชัยรับเหรียญทองในรายการวิ่งระยะสั้นไปเต็มมือ ทั้ง 100 เมตร 200 เมตร ข้ามรั้ว 110 เมตร ผลัด 4X100 เมตร 4X400 เมตร ชาย แถมวิ่งระยะกลาง 800 เมตร ชาย กรีฑา มีกี่ประเภท ส่วนประเภทหญิง สหรัฐฯ มาได้เหรียญทองในรายการ วิ่งข้ามรั้ว ทั้ง 100 เมตร และ 400 เมตร รวมทั้ง ผลัด 4X400 เมตร และที่สำคัญคือรายการใหม่สุดๆ วิ่งผลัดผสม 4X400 เมตร สหรัฐฯ ก็ยังครองความเป็นจ้าวในประเภทนี้ ในขณะที่กรีฑาประเภทลานก็ได้เหรียญทองไม่น้อย

รายการวิ่งผลัดผสม 4X400 เมตร (Mixed 4×400 metres relay) เป็นรายการใหม่ที่ถูกบรรจุใน กรีฑาชิงแช้มพ์โลก 2019 เป็นครั้งแรก และจะมีการแข่งขันใน โอลิมปิค เกมส์ 2020 ด้วย ซึ่งความจริงก็มีการจัดการแข่งขันในรายการเล็กๆก่อนหน้านั้นแล้วตั้งแต่ปี 2017 โดยมีกติกาหลักคือ ในทีมต้องประกอบด้วยนักกรีฑาหญิง 2 คนและชาย 2 คน โดยจะเรียงลำดับอย่างไรก็ได้ ซึ่งทีมกรีฑาส่วนใหญ่มักเห็นความสำคัญของการออกสตาร์ทและการเร่งสปีดเข้าเส้นชัย จึงมักวางนักกรีฑาชายไว้ที่ลำดับหัวกับท้ายเป็น M W W M แต่บางทีมขอนำหน้าไปก่อนจึงวางลำดับเป็น M M W W

ความมันของรายการนี้จะอยู่ที่การได้เห็นนักกรีฑาชายซึ่งปกติแข็งแรงกว่านักกรีฑาหญิง จึงทำสปีดได้เร็วกว่า แม้ตามหลังก็ไล่ตามและอาจแซงได้ในที่สุด ดังนั้น ทีมที่ตามหลังอยู่มากก็ใช่ว่าจะหมดหวัง มันอาจเป็นเพราะขณะนั้นเป็นคิวของนักกรีฑาหญิงนั่นเอง ครั้นเมื่อถึงคิวของนักกรีฑาชายก็จะทำสปีดเร็วจี๋ ไล่ตาม และแซงนักกรีฑาหญิงของอีกทีมที่นำอยู่มากเข้าเส้นชัยได้

ทีมกรีฑาของ ฝรั่งเศส ยอมรับว่าประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงใน โดฮา 2019 โดยคว้ามาได้เพียง 1 เหรียญเงินจาก ขว้างค้อน กับอีก 1 เหรียญบร๊อนซ์จาก วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร ไม่มีเหรียญทองติดมือ ทีมหญิงก็กลับบ้านมือเปล่า ทำให้หลังจบเกมดังกล่าว ฝรั่งเศส ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเฉยๆ รีบจัดแจงเตรียมแก้ไขข้อผิดพลาดทันที เพื่อเตรียมส่งนักกรีฑาเข้าร่วมการแข่งขัน โตเกียว 2020 และเตรียมการณ์สำหรับ “ ปารี 2020 ” กรีฑาชิงแช้มพ์ยุโรป (2020 European Athletics Championships) ที่ กรีฑา/กีฬาประเภทลู่ กรุงปารี จะเป็นเจ้าภาพในประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากจบ โอลิมปิค เกมส์

สหพันธ์กรีฑาของฝรั่งเศส ให้ชื่อภารกิจนี้ว่า มิสซิอง ก็อมม็องโด (Mission Commando) มันก็คือ Commando Mission ที่มีภารกิจเชิงรุก จู่โจม ไม่รอช้าแล้ว โดยได้จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นมาใหม่ มีบุคลากรจากสหพันธ์ฯเข้ามาช่วย 88 คน เน้นการแบ่งงานให้กับบุคคลต่างๆอย่างเหมาะสม ไม่ไปแปะความรับผิดชอบเอาไว้ที่คนกลุ่มเดียวเท่านั้น งานนี้เขามอบอำนาจให้อดีตนักกรีฑาที่ทำผลงานระดับสูงมา 3 คนแบ่งกันดูแลรายการวิ่งระยะสั้น ระยะกลาง และรายการผสม อันนี้หมายถึงพวกสัตตกรีฑาและทศกรีฑา เพื่อติวเข้มนักกรีฑาที่มีโอกาสคว้าเหรียญรางวัลหรืออย่างน้อยมีสิทธิ์ติดในรอบสุดท้าย

องค์กรดังกล่าวมีหน้าที่ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาทุกอย่าง เพื่อที่ต่อไปนี้จะไม่ขาดในสิ่งใดทั้งสิ้น พร้อมที่จะอยู่ใกล้ตัวนักกรีฑาและจัดสิ่งที่ต้องการให้ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูลต่างๆ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการฝึกซ้อม การแข่งขัน ตลอดจนเรื่องทางการแพทย์ สำหรับงบประมาณเพื่อการนี้ ใน โอลิมปิค เกมส์ อาจไม่มากมายอะไร แต่ใน กรีฑาชิงแช้มพ์ยุโรป นั้นมาก้อนใหญ่แน่นอน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปูทางให้นักกรีฑารุ่นใหม่สู่ โอลิมปิค เกมส์ 2024 ที่ กรุงปารี จะเป็นเจ้าภาพครับ กรีฑา วิ่งผลัด 4×400 เมตร