ประวัติความเป็นมาของกรีฑา ตามประวัติของกรีฑาเป็นที่เชื่อกันว่าชาวกรีกสมัยโบราณเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาและกรีฑาเกิดขึ้นเมื่อประมาณ776 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพลเมืองของกรีกให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะรับใช้ประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือชาวกรีกในสมัยโบราณนับถือเทพเจ้าอยู่หลายองค์ และเชื่อว่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสเทพ เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้แก่ผู้นับถือคล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของ ชาวกรีก ดังนั้นชาวกรีกจึงพยายามที่จะประพฤติตนให้เป็นที่โปรดปราน ทำความเข้าใจและสนิทสนมกับเทพเจ้า เป็นเหตุให้มีพิธีบวงสรวงหรือทำพิธีกรรม ต่าง ๆ เมื่อเสร็จการบวงสรวงตามพิธีทางศาสนาแล้วจะต้องมีการเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแค้วนอีลิสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติของเทพเจ้า การเล่นกีฬาที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์สืบต่อกันมา คือ การเล่นกีฬา 5 ประเภท ได้แก่ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน และขว้างจักร โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องเล่นให้ครบทั้ง 5 ประเภท สังเกตได้ว่านอกจากมวยปล้ำแล้วอีก 4 ประเภท เป็นการเล่นกรีฑาทั้งสิ้นการเล่นกีฬาดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นเวลา 1200 ปี จนกระทั่งกรีกเสื่อมอำนาจลงและตกอยู่ภายใต้ อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกก็เสื่อมลงตามลำดับ ในค.ศ. 393 จักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมันมีคำสั่งให้ยกเลิกการ เล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าการแข่งขันในตอนปลายก่อนที่จะยกเลิกไปนั้น มีจุดมุ่งหมายต่างไปจากเดิม โดยที่ผู้เล่นและผู้ชมหวังสินจ้างรางวัล มีการพนันเพื่อเงินทอง ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา เป็นอันว่าโอลิมปิกสมัยโบราณได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมาเป็นระยะเวลานาน15ศตวรรษ เป็นผลให้การเล่นกีฬาต้องหยุดชะงัก ไปด้วย
- โอลิมปิกสมัยใหม่ ่ หลังจากโอลิมปิกสมัยโบราณยุติไป 15 ศตวรรษ ได้มีบุคคลสำคัญเป็นผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิกให้กลับฟื้นคืนมาใหม่ท่านผู้นั้นคือ บารอน ปีแอร ์เดอ คูแบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชักชวนบุคคลสำคัญ ของชาติ ต่าง ๆ ให้เข้าร่วมประชุม ตกลง เปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยปัจจุบันขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง ในข้อตกลงให้บรรจุการเล่นกรีฑาเป็นกีฬาหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์ แก่ชนชาติกรีกที่เป็นผู้ริเริ่ม จึงลงมติเห็นชอบโดยพร้อมเพรียงกันให้ประเทศกรีกจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเทศแรก ใน ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ณ กรุงเอเธนส์
- กรีฑาในประเทศไทย การแข่งขันกรีฑาในประเทศไทย กระทรวงธรรมการ(ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียน ขึ้นเป็น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนั้น พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี
- พ.ศ.2476 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้น(พ.ศ.2545 มีการปฏิรูปการศึกษากรมพลศึกษายุบไป) โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
- พ.ศ.2494 ได้มีการจัดตั้งสามคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น
- พ.ศ.2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้นมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑา และกีฬาต่างๆเป็นประจำทุกปีซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ” กีฬาแห่งชาติ “
- พ.ศ.2528 เปลี่ยนชื่อจากองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยเป็น ” การกีฬาแห่งประเทศไทย “
ประเภทของกรีฑา ประวัติความเป็นมาของกรีฑา
- ประวัติความเป็นมาของกรีฑา ประเภทลู่
กรีฑาประเภทลู่เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งหรือลู่วิ่งตลอดระยะทาง ใช้การวิ่งเป็นสำคัญตัดสินแพ้ชนะกันด้วยเวลาการแข่งขันที่นิยมกันทั่วไปมี ดังนี้- การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย ซึ่งจะต้องวิ่งในลู่ของตนเองตลอดระยะทางอาจแบ่งระยะทางวิ่งออกเป็น 60,80,100,200 และ 400 เมตร
- การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การวิ่งในระยะทางตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,500 เมตร
- การวิ่งระยะไกล หมายถึง การวิ่งในระยะทางมากกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป และการวิ่งมาราธอน(42.195 เมตร )
- การวิ่งผลัด หมายถึง การแข่งขันที่แบ่งเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้แข่งขันเท่า ๆ กัน มีดังนี้
- การวิ่งผลัดระยะทางเท่ากัน หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันต้องวิ่งในระยะทางเท่ากัน เช่น 5 x 80, 8 x 50, 4 x100, 4 x 200, 4 x 400 เมตร เป็นต้น
- การวิ่งผลัดต่างระยะ หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันวิ่งในระยะทางไม่เท่ากัน เช่น 80 x 120 x 120 x 80 เมตร เป็นต้น
- การวิ่งข้ามรั้ว กรีฑา/กีฬาประเภทลู่ หมายถึง การวิ่งตามลู่วิ่งข้ามสิ่งกีดขวางความสูงและจำนวนรั้วที่ใช้แข่งขันในแต่ละประเภทแตกต่างกันไป เช่น วิ่งข้ามรั้ว 100 ,110,400 เมตร เป็นต้น
- ประเภทลาน กรีฑาประเภทลานเป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันในสนาม ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยระยะทางอาจเป็นความไกลหรือความสูง แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้
- ประเภทที่ตัดสินด้วยความไกล ได้แก่ กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มลูกน้ำหนัก ขว้างค้อน ขว้างจักร และพุ่งแหลน
- ประเภทที่ตัดสินด้วยความสูง ได้แก่ กระโดดสูง และกระโดดค้ำ
- ประเภทผสม กรีฑาประเภทผสมเป็นการแข่งขันที่นำกรีฑาประเภทลู่ และลานบางส่วนผสมกันแบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้
- บุคคลชาย มีกรีฑาประเภทผสมให้เลือกแข่งขันได้ 2 แบบ ดังนี้
- ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 รายการ ทำการแข่งขันภายในวันเดียว ตามลำดับ คือกระโดดไกล พุ่งแหลน ,วิ่ง 200 เมตร,ขว้างจักร และวิ่ง 1,500 เมตร
- ทศกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้ วันแรก วิ่ง 100 เมตร กระโดดไกล ทุ่มลูกน้ำหนัก กระโดดสูงและวิ่ง 400 เมตร วันที่สอง วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร ขว้างจักร กระโดดค้ำ พุ่งแหลนและวิ่ง 1,500 เมตร
- บุคคลหญิง มีการแข่งขันเพียงแบบเดียว คือ สัตตกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 7 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วันติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้ วันแรก วิ่งข้ามรั้ว100 เมตร, กระโดดสูง,ทุ่มลูกน้ำหนักและวิ่ง 200 เมตรวันที่สองกระโดดไกล,พุ่งแหลนและวิ่ง 800 เมตร
- บุคคลชาย มีกรีฑาประเภทผสมให้เลือกแข่งขันได้ 2 แบบ ดังนี้
ประโยชน์ของกรีฑา
การเล่นกรีฑาเหมือนกับการเล่นกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่ผู้เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่น ดังนี้
- มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส
- กล้ามเนื้อสมบูรณ์แข็งแรง
- รูปร่างได้สัดส่วน มีบุคลิภาพที่ดี กรีฑา วิ่งผลัด 4×400 เมตร
- ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคดี
- เป็นวิธีช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดีวิธีหนึ่ง
- ระบบประสาททำงานดีขึ้น ทำให้นอนหลับสนิท
- ระบบการหายใจดีขึ้น ทรวงอกมีการขยายตัวมากขึ้น
- ระบบย่อยอาหาร และระบบการขัยถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
- ร่างกายมีความอดทนต่อการทำงาน ทำให้เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็วขึ้น
- เส้นเลือดขยายตัวส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดี ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
มารยาทที่ดีในการเล่นและชมกรีฑา
กรีฑาเหมือนกับกีฬาชนิดอื่นๆตรงที่ ผู้เล่นต้องมีมารยาทในการเล่น และผู้ชมต้องมีมารยาทในการชม เช่นเดียวกันนอกจากทำให้การแข่งขันดำเนินไปด้วยดีแล้ว กรีฑา มีกี่ประเภท ยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม ให้กับผู้เล่น และผู้ชมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นและผู้ชมกรีฑาที่ดีจึงควรปฏิบัติตน ดังนี้
1) มารยาทของผู้เล่นที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
- แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการล่นกรีฑา
- มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมและผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
- เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สอน
- เคารพเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินตลอดเวลา
- ปฏิบัติตามกฎ กติกาอย่างเคร่งครัด
- ไม่แสดงกิริยาอาการไม่พอใจ หากเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาด
- เมื่อชนะหรือแพ้ไม่ควรแสดงความดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
- ก่อนและหลังการแข่งขันควรแสดงความเป็นมิตรกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามด้วยการทักทายหรือจับมือแสดงความยินดี
- ไม่ควรยืมอุปกรณ์การเล่นของคนอื่นมาใช้ฝึกซ้อม
2) มารยาทของผู้ชมที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
- ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด
- แสดงความยินดีกับผู้เล่นที่เล่นดี เช่น การปรบมือ เป็นต้น
- ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนแย้งคำตัดสิน เป็นต้น
- ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
- ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ติดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก
- ไม่กระทำสิ่งใด ๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น ประวัติความเป็นมาของกรีฑา